SDK ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ เครื่องมือสุดครบครันของเหล่านักพัฒนา
เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปข้างหน้าแบบก้าวกระโดดบุคคลที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของผู้คนย่อมหนีไม่พ้น “นักพัฒนา” ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดก็ตาม และถ้าพูดถึงกลุ่มคนทำงานด้านซอฟต์แวร์โดยตรงสิ่งหนึ่งที่พวกเขามักให้ความสำคัญเป็นอย่างมากย่อมหนีไม่พ้น ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Kit) หรือ SDK นี่คือหัวใจสำคัญในการเพิ่มเติมศักยภาพของผลิตภัณฑ์ด้านไอทีให้เติบโตมากขึ้น
ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) คืออะไร
ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ คือ ชุดเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ภายในชุดเดียวแบบเสร็จสรรพ สร้างความสะดวกต่อการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสร้างแอปพลิเคชัน คอมไพเลอร์ ดับักเกอร์ และบ่อยครั้งยังมีเรื่องของเฟรมเวิร์คซอฟต์แวร์ด้วย โดยทั่วไปมักมุ่งเน้นไปยังกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการร่วมเพื่อเป้าหมายในการสร้างแอปที่มีศักยภาพและฟังก์ชันชั้นสูง เช่น การทำโฆษณา การแจ้งเตือนแบบพุช มากไปกว่านั้นเหล่านักพัฒนาแทบทั้งหมดมักนิยมใช้ SDK แบบเฉพาะทางด้วย
หากอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น SDK สามารถอยู่ได้ทั้งในลักษณะ Application Programming Interfaces (API) รูปแบบไลบรารีบนอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อกับภาษาตัวโปรแกรมเฉพาะ บางตัวก็อาจซับซ้อนระดับเครื่องมือเฉพาะของฮาร์ดแวร์ที่สามารถสื่อสารได้ผ่านระบบการฝังตัว ดังนั้นหากจะสรุปแบบเข้าใจง่ายขึ้นมันคือชุดเครื่องมือ / อุปกรณ์ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถคิดค้น นำเสนอ ทดลอง โปรแกรม แอปพลิเคชันใหม่ ๆ จนสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่คาดหวัง
ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ ใช้ประโยชน์ด้านไหนได้บ้าง
หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายกันไปแล้ว สิ่งต่อมาที่ยังอาจเป็นข้อสงสัยว่า สรุปแล้ว SDK สามารถสร้างประโยชน์อะไรให้กับผู้ใช้งานได้บ้าง ลองมาศึกษาข้อมูลเหล่านี้เพื่อมองเห็นประโยชน์อันแท้จริงแบบครบทุกด้าน
1. ตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์
เว็บไซต์ยังคงเป็นหัวใจหลักของการท่องอินเทอร์เน็ต SDK จึงเท่ากับเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างหน้าเว็บแต่ละหน้าให้ออกมาสมบูรณ์แบบ ไล่ตั้งแต่การเริ่มต้นทำ HTML, CSS และ JavaScript ไปจนถึงข้อมูลหลังบ้าน อาทิ ฐานข้อมูล เฟรมเวิร์ค โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์ รวมถึง API ทำโฮสต์ ปรับขนาด ฯลฯ
2. ตัวช่วยสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน
เมื่อเว็บไซต์คือหัวใจของคนท่องโลกอินเทอร์เน็ต ตัวแอปพลิเคชันก็เปรียบกับแกนหลักบนโลกสมาร์ตโฟนคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก ช่วยสร้างความสะดวกต่อทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้งานตั้งแต่พัฒนาเครื่องมือ ไลบรารี และอื่น ๆ เมื่อพัฒนาออกมาเป็นรูปร่างแล้วยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง สังเกตข้อผิดพลาด และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอปมือถือให้ดีขึ้นกว่าเดิม เหนือสิ่งอื่นใดยังมีความพิเศษในการปรับใช้งานแอประหว่างค่ายเพื่อความสะดวกง่ายขึ้นกว่าเดิม
3. ตัวช่วยสำหรับพัฒนาเกม
ยุคนี้เกมออนไลน์เล่นผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต เป็นสิ่งที่ใครก็ทำได้ แต่ถ้าอยากให้เกมมีความก้าวหน้ามากขึ้นชุดพัฒนซอฟต์แวร์ก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กันไม่ว่าจะเป็นโค้ดตัวอย่าง ไลบรารีกราฟิก 3D ไลบรารีเสียง ปัญญาประดิษฐ์ เครือข่าย กลไกทางฟิสิกส์ และอื่น ๆ
4. ตัวช่วยประมวลผลและการจัดเก็บบน Cloud
นอกจากการเป็นผู้ช่วยสำหรับพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ แล้ว ยังมีส่วนสำคัญกับการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บน Cloud อีกด้วย อาทิ อยู่ในส่วนของฐานข้อมูล Machine Learning การวิเคราะห์ต่าง ๆ มีการนำเอาข้อมูลในหลายมิติมาผสานระหว่างกันร่วมกับปัจจัยแวดล้อมอื่นของระบบ Cloud ด้วยภาษาที่กำหนดได้เอง
จากประโยชน์เหล่านี้หากจะบอกว่า SDK ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม IOT หรือ Internet of Things คงไม่ใช่เรื่องผิดเท่าใดนัก นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถนำเอาจุดเด่นไปใช้ประโยชน์ด้วยวิธีอันแสนหลากหลายตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างไปจนถึงพัฒนาเพื่อผลลัพธ์ดีที่สุด
จากข้อมูลเกี่ยวกับ SDK เมื่อมองในภาพรวมแบบกว้าง ๆ แล้วต้องยอมรับว่ามันได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในแทบทุกส่วนของการใช้ชีวิตคนยุคปัจจุบันเรียบร้อย ปัจจัยหลักนักพัฒนาจะใช้เพื่อสร้างสรรค์ทุกสิ่งรอบตัวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเกิดการใช้จริง มีผลลัพธ์ชัดเจนก็เป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าที่เกิดขึ้น สามารถผสานการทำงานกับปัจจัยแวดล้อมอื่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในระยะยาวยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนอีกต่างหาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากนักพัฒนาซอฟต์แวร์แทบทุกคนจะให้ความสำคัญกับชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ภายใต้เป้าหมายสำคัญนั่นคือการทำสิ่งที่จินตนาการให้ออกมาเป็นจริง