ข่าวสารฉับไว
ทันสมันทุกเหตุการณ์

Palm OS ระบบปฏิบัติการที่เป็นจุดเริ่มความทันสมัยของยุคดิจิทัล

หากลองเอ่ยถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกันปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับระบบ Windows ของค่าย Microsoft ระบบ Mac จาก Apple หรือถ้าอย่างบนมือถือก็หนีไม่พ้น iOS และ Android อย่างไรก็ตามหากเอ่ยถึงผู้บุกเบิกระบบปฏิบัติการเพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ไอทีจนก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลแบบเต็มตัว ชื่อของ “Palm OS” เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่อาจไม่รู้จัก แต่ถ้าใครอยู่ในแวดวงเทคโนโลยีเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ยังไงก็ต้องคุ้นเคยแน่นอน

Palm OS

ทำความรู้จักกับระบบปฏิบัติการ Palm OS

Palm OS คือ ระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่งผ่านการคิดค้นและพัฒนาโดย Jeff Hawkins จากบริษัท Palm, Inc., มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์พกพา / เครื่องผู้ช่วยส่วนบุคคลซึ่งในยุคนั้นมีชื่อว่า PDA Palm Pilot ถูกผลิตโดย US Robotics กระทั่งบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่อง PDA จำนวนมากต่างให้ความสนใจและเลือกใช้ระบบดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น Samsung, Lenovo, Garmin – Asus Tech, Sony นั่นส่งผลถึงการก่อกำเนิด Palm OS 1.0 ใช้ครั้งแรกกับการติดตั้งไว้กับเครื่อง Palm Pilot 1000 และ Palm Pilot 5000

อย่างไรก็ตามด้วยความไม่แน่นอนบวกกับปัจจัยหลายด้านทำให้ Palm OS ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้การดูแลของบริษัท HP ในชื่อ HP – Palm WebOS (ควบรวมกิจการ) และล่าสุดก็ถูกให้เรียกชื่อ LG – WebOS ซึ่งทาง LG ได้รับสิทธิบัตรจากทาง HP นั่นเอง
ฟีเจอร์เด่นของระบบปฏิบัติการ Palm OS

ต้องอธิบายว่า Palm OS ก็ไม่แตกต่างจากระบบปฏิบัติการทั่วไปซึ่งมีแอปพลิเคชันสำหรับเพิ่มความสะดวกต่อตัวผู้ใช้งาน แต่เมื่อไหร่ที่คุณเลือกใช้ระบบดังกล่าวรับรองว่าฟีเจอร์หรือแอปเหล่านี้จะมีอยู่แน่ไม่ต้องห่วงเลย

  • 1. Address Book/Contacts – สมุดบันทึกเพื่อจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้สะดวกต่อการจดจำและนำไปใช้ประโยชน์ง่ายขึ้น
  • 2. Blazer – หากเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้นมันก็คือเว็บเบราวน์เซอร์ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน
  • 3. Date Book/Calendar – ปฏิทินรวมถึงสมุดจดโน้ตเพื่อระบุคิว วัน-เวลาตารางนัดหมายต่าง ๆ ของผู้ใช้งานมีทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน สามารถสั่งแจ้งเตือนก่อนถึงเวลานัดได้แม้อุปกรณ์ปิดระบบอยู่ก็ตาม
  • 4. Calculator – เครื่องคิดเลขอัดแน่นไปด้วยฟังก์ชันมาตรฐานไปจนถึงการคำนวณที่ยากขึ้น เช่น ถอดรากที่สอง รวมถึงยังสามารถย้อนหลังประวัติการใช้งานได้
  • 5. Memo Pad/Memos – จุดเด่นคือบันทึกเป็นตัวอักษรได้สูงสุด 4,000 อักษร จัดกลุ่มแยกข้อมูลที่บันทึกแต่ละส่วนออกจากกันได้
  • 6. HotSync – โปรแกรมสำหรับใช้โอนถ่ายข้อมูล หรือ “ฮอตซิงค์” เพื่อโอนข้อมูลไปยังปลายทาง หรือทำการสำรองข้อมูลเผื่อกรณีเครื่องที่ใช้งานเกิดความเสียหายสิ่งเหล่านั้นก็จะอยู่กับตัวเครื่องที่คุณส่งไปให้
  • 7. Expense – ตัวช่วยบันทึกค่าใช้จ่าย แต่ถ้าจะคำนวณยอดรวมต้องถ่ายโอนข้อมูลไปยังโปรแกรมที่สามารถคำนวณได้ เช่น Microsoft Excel
  • 8. Note Pad – ผู้ช่วยในการวาดภาพ หรือระบุบันทึกแบบสั้น ๆ ตามลักษณะของไฟล์ภาย ไม่ได้มีการปรับเป็นตัวอักษรแต่อย่างใด
  • 9. Media – บางคนอาจเรียก Palm Photo ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงหลังซึ่งปัจจุบันก็ถูกเปลี่ยนใหม่เป็น Media ทำหน้าที่แสดงภาพนิ่ง วิดีโอ และจัดการกับไฟล์เหล่านี้
  • 10. To Do List / Tasks – ใช้เพื่อการจดบันทึกและลิสต์รายการต่าง ๆ ที่คุณต้องทำ แบ่งลำดับความสำคัญ ระบุกำหนดการ และอื่น ๆ
  • 11. Voice recording – ใช้สำหรับการบันทึกเสียงประเภทต่าง ๆ
  • 12. Preferences – ตัวช่วยสำหรับตั้งค่าการทำงาน ปรับแต่งระบบให้เหมาะกับความคุ้นชิน เพิ่มความสะดวก เช่น การสร้างเมนูลัด เป็นต้น

การใช้งานระบบ Palm OS ในปัจจุบัน

แม้ศักยภาพของ Palm OS จะถือว่าน่าสนใจและถูกพูดถึงในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าระบบปฏิบัติการดังกล่าวไม่ใช่สิ่งยอดนิยมอันดับ 1 ของคนทั่วโลก มักถูกใช้งานกับคอมพิวเตอร์พกพาตามบริษัทเกี่ยวกับการผลิตเทคโนโลยีดัง ๆ หลายแห่ง ซึ่งสาเหตุของไม่ได้รับความนิยมในวงกว้างมากนักในเวลานี้ก็มีอยู่หลายปัจจัย เช่น

Palm OS

  • – การวางตลาดตัว Palm Pre เมื่อครั้งแรกเริ่มช้ากว่าคู่แข่งอย่าง iPhone 3GS ทำให้คนรู้สึกสนใจ iPhone มากกว่า
  • – ไม่ค่อยเน้นจุดขายอุปกรณ์ในโฆษณา บางครั้งทำออกมาแล้วไม่สื่อเข้าถึงใจผู้บริโภค
  • – กำหนดกลุ่มเป้าหมายผิดพลาด อยู่ตลาดล่างก็ไม่เกิด ตลาดบนก็โดนคู่แข่งทับ
  • – บ่อยครั้งคุณภาพยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เกิดข้อผิดพลาดในระบบอยู่พอสมควร

หลายคนอาจลืมเลือนไปแล้วว่า Palm OS คืออีกระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นการก้าวไปสู่โลกยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว แต่ก็ต้องมีการปรับตามกระแสและสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอด ด้วยเทคโนโลยีมาไวไปเร็ว ถ้าช้าก้าวเดียวก็อาจไม่เกิดระยะยาว